โมเดลแก้จนเกษตรมูลค่าสูง

โครงการปฏิบัติการระดับพื้นที่ โมเดลแก้จน ( Operating Model : OM )

โมเดลแก้จน หมายถึง การแก้จนระดับพื้นที่ในการช่วยเหลือคนจนหรือครัวเรือนยากจน ที่ใช้การวิจัย นวัตกรรมและเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับการดำเนินการ ให้มีความสอดคล้องเหมาะสมกับบริบทพื้นที่ และผลการวิเคราะห์ฐานทุนดำรงชีพของกลุ่มเป้าหมาย (SLF.) รวมถึงส่งผลกระทบอย่างเป็นรูปประธรรม ต่อคนจนหรือครัวเรือนยากจน ทั้งด้านเศรษฐกิจ รายได้ และคุณภาพชีวิต โมเดลแก้จนเป็นส่วนหนึ่งในระบบและกลไกของแพลตฟอร์มขจัดความยากจนแบบเบ็ดเสร็จและแม่นยำ ขับเคลื่อนงานโดยหน่วย บพท.

ชื่อโครงการ : การพัฒนากระบวนการเพิ่มรายได้เกษตรกรด้วยระบบการผลิตเกษตรมูลค่าสูงของกลุ่มเกษตรกร ตำบลไร่ อำเภอพรรณานิคม และตำบลโพนงาม อำเภออากาศอำนวย จังหวัดสกลนคร 
เวลาดำเนินการ : ระยะเวลา 1 ปี ระหว่างวันที่ 15 เมษายน 2565 - 14 เมษายน 2566

ชื่อโครงการ : การพัฒนาระบบห่วงโซ่การผลิตเกษตรมูลค่าสูง ด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม เพื่อยกระดับเศรษฐกิจชุมชน 
เวลาดำเนินการ : ระยะเวลา 1 ปี ระหว่างวันที่ 1 เมษายน 2566 - 31 มีนาคม 2567
ปฏิบัติการโมเดลแก้จนเกษตรมูลค่าสูง คือ กลยุทธ์การดำรงชีพ ในระบบการผลิตสินค้าเกษตรที่ปลอดภัย มีมาตรฐาน เป็นที่ต้องการของตลาด มีคุณค่าทางโภชนาการ ตั้งแต่กระบวนการต้นทาง กลางทาง ปลายทาง (การผลิต แปรรูป การตลาด) โดยมิได้เพียงมุ่งเน้นมูลค่าในด้านราคาที่สูงขึ้นเท่านั้น แต่เกษตรมูลค่าสูง ยังหมายความรวมถึง การเกษตรที่ก่อให้เกิดผลในเชิงคุณค่าไม่ว่าจะเป็นการผลิตที่ต้นทุนต่ำและไม่จำเป็นต้องผูกขาด การแบ่งปันผลประโยชน์ที่เป็นธรรม (Profit Sharing) ให้กับเกษตรกร แบ่งปฏิบัติออกเป็น 3 โมเดลอาชีพ คือ เห็ด ข้าว สมุนไพร

ผู้รับผลประโยชน์ : จำนวน 280 ครัวเรือน  
เทคโนโลยีและนวัตกรรมที่ใช้ : จำนวน 8 ชิ้น ประกอบด้วย
- องค์ความรู้และทักษะการเพาะเห็ด เห็ดคืออะไร  รู้จักระบบผลิตเห็ด
เทคโนโลยีหม้อนึ่งแรงดันไอน้ำอุณหภูมิคงที่ 100 องศา ฯ
- นวัตกรรมการเพาะเห็ดจากไม้ยางพารา
รายได้เพิ่มขึ้น : ร้อยละ 20 ต่อเดือนต่อครัวเรือน  
การเปลี่ยนแปลง :
โมเดล BCG เพาะเห็ดจากฟางข้าวเสริมธาตุสิลิเนียน นำก้อนเชื้อเห็ดเก่าไปทำสารปรับปรุงดิน
- ชุมชนและกลุ่มเป้าหมายมีความเป็นเจ้าของอาชีพ
- ระบบพี่เลี้ยงการจัดสวัสดิการการเรียนรู้ พี่เลี้ยงตำบลไร่  พี่เลี้ยงต.โพนแพง
- วิสาหกิจชุมชนปลูกเห็ดไร้สาร โค้งคำนับฟาร์ม .

ผู้รับผลประโยชน์ : จำนวน 75 ครัวเรือน (กลุ่มนาปรัง 55 , กลุ่มข้าวเม่า 25)  
เทคโนโลยีและนวัตกรรมที่ใช้
- จัดการเรียนรู้นำนักศึกษาวิศวกรสังคมร่วมปฏิบัติการ จิตอาสาดำนา จิตอาสาเกี่ยวข้าว
รายได้เพิ่มขึ้น : ร้อนละ 20 ต่อครัวเรือนต่อเดือน  
การเปลี่ยนแปลง
- เกิดการถ่ายทอดองค์ความรู้ ภายในชุมชน  ภายในโครงการกลุ่มเพาะเห็ด
- วิสาหกิจชุมชนนาปรังมูลค่าสูง .

ผู้รับผลประโยชน์ : จำนวน 30 ครัวเรือน  
เทคโนโลยีและนวัตกรรมที่ใช้ : ....  
รายได้เพิ่มขึ้น : ....  
การเปลี่ยนแปลง : ....
ข้อมูลอัปเดท ธันวาคม 2566

📱ช่องทางการติดตามการวิจัย









OnePoverty คือ นวัตกรรมกระบวนการวิจัย เพื่อแสวงหาคำตอบ และหรือแนวทางแก้จนหนึ่งเดียว โดยใช้แนวคิด "คิดแบบศาสตร์ ปฏิบัติอย่างศิลป์" มีหลักการหลอมรวมฐานชีวิตและวัฒนธรรม จนเกิดเครื่องมือเหมาะสมกับ "การวิจัย ความคิด ชีวิต วัฒนธรรม" ที่สอดคล้องกับบริบทพื้นที่ปฏิบัติการ

1Poverty พัฒนาโดย สมชาย เครือคำ (แตงโม สกลนคร)

{fullWidth}